ตัวยา CCA , MCA และคุณประโยชน์ของเนื้อไม้สน

สารกันปลวก

ตัวยากันผุกร่อนที่ละลายในน้ำที่ใช้กับ ไม้สน

ตัวยากันผุกร่อนที่ละลายในน้ำ เป็นยาที่ใช้มากที่สุด เนื่องจากสะอาด ไร้กลิ่น และได้รับการรับรองจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA : Environmental Protection Agency) ทั้งนี้ ตัวยาดังกล่าวมีหลายชนิด ซึ่งโดยส่วนมากมักใช้สาร CCA : Chromated Copper Arsenate , ACQ : Alkaline Copper quaternary และ CA : Copper Azole

วิธีการนำตัวยาเข้าสู่เนื้อไม้ คือ การนำเอาเนื้อไม้สนที่ต้องการนำเข้าสู่แท็งก์ที่มีแรงดันสูง และใช้แรงดันนี้ผลักดันเอาตัวยาเข้าสู่โมเลกุลของเนื้อไม้ โดยปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ตัวยากับเยื่อไม้เกาะกลุ่มกันเป็นเนื้อเดียว

อัตราส่วนของการใช้ตัวยา ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหรือลักษณะงานที่นำไปใช้ ทั้งนี้สมาคมอนุรักษ์ไม้ของประเทศอเมริกา (AWPA : American Wood Preservers' Association) ได้กำหนดมาตรฐานของการใช้ตัวยาป้องกันการผุกร่อน กล่าวคือ ปริมาณของตัวยาที่ป้องกันการผุกร่อนที่ตกค้างอยู่ภายในโมเลกุลของเนื้อไม้ หลังจากผ่านการอัดตัวยาแล้ว โดยแบ่งเป็นอัตราส่วนปอนด์ต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากค่าหรือตัวเลขของอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงเท่าไร นั่นหมายถึง เป็นไม้ที่ดี สามารถรับกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อเนื้อไม้ได้นานยิ่งขึ้น

หากต้องการใช้ไม้สนนี้อยู่ติดพื้น หรืออยู่เหนือพื้น สามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่ระบุ หากเขียนว่า Above Ground หมายถึง ไม่ควรสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง หรือหากเขียนว่า Ground Contact หมายถึง สามารถสัมผัสติดกับตัวพื้นหรือลงไปในเนื้อดินได้

กว่าจะมาเป็นสาร MCA ที่ใช้กับไม้สนในปัจจุบัน

ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา วิธีการป้องกันการผุกร่อน จะใช้สาร CCA (Chromated Copper Arsenate) เป็นหลัก ซึ่งการจัดการด้วยวิธีดังกล่าวเป็นการป้องกันที่ได้ผลต่อการผุกร่อน เชื้อรา และปลวก พร้อมกันนั้นยังเป็นการยืดอายุของเนื้อไม้ แต่อย่างไรก็ตาม จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและความรู้ที่ยกระดับสูงขึ้น ทัศนคติต่อผลกระทบจากสารเคมีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การจัดการด้วยระบบ CCA และระบบ ACQ (Alkaline Copper quaternary) จึงได้ถูกพัฒนามาเป็นกระบวนการป้องกันการผุกร่อนด้วยระบบ MCQ (Micronized Copper quaternary) และ สาร MCA ในปัจจุบัน

ตัวยากันผุกร่อนที่ละลายในน้ำที่ใช้กับ ไม้สน

MCA (Micronized Copper quaternary)

  • สาร MCA เป็นการจัดการด้วยแรงดัน DDAC (didecyldimethylammonium carbonate) เข้าสู่เนื้อไม้ ซึ่งเป็นการยกระดับของ ACQ-D ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการใช้งานภายนอกอาคาร
  • สำหรับสีสันของตัวยา MCA ที่ป้องกันการผุกร่อนจะดูเป็นธรรมชาติเมื่อเปรียบเทียบกับตัวยาป้องกันการผุ กร่อนอื่นๆ ที่ใช้ทองเหลือง ทองแดง มาเป็นสสาร นอกจากนี้ ยังสามารถเห็นลายธรรมชาติของเนื้อไม้ได้อย่างชัดเจน จึงง่ายต่อการทาสีทับอีกด้วย
  • MCA จะไม่ก่อปฏิกิริยากัดกร่อนกับโลหะที่นำมาติด จึงมีคุณสมบัติเสมือนกับไม้ธรรมชาติทั่วไป
  • MCA สามารถสัมผัสโดยตรงกับวัสดุอลูมิเนียมหรือวัสดุโลหะอื่นๆ ได้
  • MCA สามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียวกับโมเลกุลของเนื้อไม้ได้อย่างมั่นคง
  • MCA ผ่านการรับรองโดย ICC-ES (International Code Council Evaluation Service) ซึ่งรายงานผลโดย ESR-1980 (Evaluation Service Reports-1980) จึงไม่ขัดต่อกฎบัญญัติของการก่อสร้าง

ตัวยากันผุกร่อนที่ละลายในน้ำที่ใช้กับ ไม้สน

คุณประโยชน์เนื้อไม้สน ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

เทคนิคที่นำเอาตัวยาอัดเข้าไปในเนื้อไม้ เรียกว่า MicroPro™ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการรักษาเนื้อไม่สน และเป็นตัวยาเฉพาะหนึ่งเดียวที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ (SCS : Scientific Certification Systems) โดยให้การรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (EPP : Environmentally Preferable Product) เป็นเทคนิคการป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้ ไม่มีสาร AS (Arsenic) และสาร Cr (Chromium) เจือปน ซึ่งเป็นสารพิษที่ถูกระบุห้ามใช้จากคณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของอเมริกา

คุณสมบัติของ ไม้สน มีความเสถียรสูง

เนื้อไม้ที่ใช้งานภายนอกเมื่อตากแดด ตากฝนเป็นระยะเวลานาน ก็จะเกิดการหดตัว บวม แตก และบิดงอได้ แต่หลังจากผ่านกระบวนการป้องกันการผุกร่อน จะทำให้เนื้อไม้นั้นมีรูปทรงคงที่ ซึ่งหากนำมาประกอบเป็นโครงสร้างจะสามารถรักษารูปทรงเดิมได้

เนื่องจากไม้สนอเมริกา มีโครงสร้างเซลล์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีรูเล็กๆ ประกอบกัน จึงไม่จำเป็นต้องเจาะหรือกรีดให้เกิดร่องบนพื้นผิวของไม้อย่างเช่นไม้ทั่วไป ทำให้ตัวยาป้องกันการผุกร่อนสามารถซึมซาบเข้าสู่เนื้อไม้ได้อย่างสม่ำเสมอ โดยผ่านการใช้แรงดันด้วยระบบ MCQ , MCA ซึ่ง เนื้อไม้สนอเมริกานี้จะให้สีสันที่สว่างและมีลายไม้ที่เป็นธรรมชาติสามารถเห็น ได้ชัดเจนกว่าหากเปรียบเทียบกับไม้สนตามท้องตลาดทั่วไป